'.$description; ?>

Heading for Printing

บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์
 

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์

เล่าเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 61
โดยสุฑาทิพย์ คำเที่ยง

ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ในบางรายแพทย์วินิจฉัยว่ามีความพิการ แพทย์จะออกหนังสือรับรองความพิการให้กับผู้ป่วยนำไปดำเนินการขอทำบัตรประจำตัวคนพิการ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิสวัสดิการที่รัฐจัดให้ ดังต่อไปนี้

  1. สวัสดิการเบี้ยความพิการ ผู้พิการจะได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท โดยสามารถยื่นคำขอรับเบี้ยความพิการได้ที่หน่วยงานในพื้นที่ที่ตนมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน กรณีอยู่ในกรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมของสำนักงานเขต กรณีอยู่ในต่างจังหวัดติดต่อได้ที่ สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล
  2. บริการด้านการแพทย์ ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ และลงทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทองกรณีผู้พิการ) สามารถเข้ารับบริการ ดังนี้
    • บริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีหนังสือส่งต่อ
    • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ได้แก่ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน การฟื้นฟูการมองเห็น เป็นต้น
    • อุปกรณ์ในการช่วยเหลือคนพิการ อาทิเช่น อุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการ นอกจากนี้ในกรณีที่อุปกรณ์เทียมหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ ชำรุดบกพร่องจำเป็นต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลง สถานพยาบาลสามารถดำเนินการให้ได้ โดยไม่คิดมูลค่า
  3. บริการทางการศึกษา ผู้พิการได้รับการศึกษาโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิตพร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สามารถเลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
  4. การส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนดและการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการหน่วยงานของรัฐ หรือสถานศึกษาเอกชน
  5. บริการให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ผู้พิการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) และผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รายละไม่เกิน 60,000 บาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย
  6. การบริการล่ามภาษามือ การช่วยเหลือทางกฎหมาย และการจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ
  7. การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ ให้บริการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการเพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันในที่อยู่อาศัยของคนพิการเอง เช่นการปรับปรุงห้องน้ำ การติดตั้งราวจับ การปรับพื้นผิวทางเดิน ฯลฯ โดยการประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นที่คนพิการอาศัยอยู่เป็นหลัก ในอัตราเหมาจ่ายรายละไม่เกิน 20,000 บาทตามที่กฎหมายกำหนด
  8. การลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ
บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์

เอกสารที่ใช้ในการทำบัตรประจำตัวคนพิการ

  1. สำเนาบัตรประชาชน/ใบสูติบัตร (พร้อมบัตรจริง) เซ็นรับรองสำเนาหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ 1 แผ่น
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน เซ็นรับรองสำเนาหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ 1 แผ่น
  3. รูปถ่ายสี 1 นิ้ว 2 รูป ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีผู้พิการไม่ได้มาด้วยตัวเอง)
  4. เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนด เว้นแต่ กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการก็ได้
  5. กรณีบุคคลอื่นยื่นคำขอแทนผู้ป่วยใช้เอกสารดังนี้
    • หนังสือมอบอำนาจ
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มาดำเนินการแทน
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มาดำเนินการแทน

สถานที่ให้บริการทำบัตรประจำตัวคนพิการ

กรุงเทพมหานคร : ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (บ้านราชวิถี) โทร. 02-354-3388, 02-354-5501, โรงพยาบาลสิรินธร โทร. 02-328-6901-19, โรงพยาบาลผู้สูงอายุ บางขุนเทียน โทร. 02-405-0901-4, สถาบันราชานุกูล โทร. 02-248-8900, 02-245-4696, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โทร. 02-517-4270-9, โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) โทร. 034-388700-2, 034-388912-5, โรงพยาบาลพระราม 2 โทร. 02-451-4920, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ โทร. สายด่วน 1415

ต่างจังหวัด : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ หรือ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  1. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทร. 02-354-3388 โทรสาร 02-354-3899
  2. ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร. 02-3543388 ต่อ 701-705
  3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร 1330
  4. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด

ที่มา : คู่มือสิทธิคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์