'.$description; ?>

Heading for Printing

การสร้างวินัยเชิงบวก
 

ฝากถึงคุณแม่คุณพ่อ - การสร้างวินัยเชิงบวก

บทความสำหรับพ่อแม่

วันที่ เรื่อง ผู้แต่ง
24 พ.ค. 2564ที่พักใจในยามที่ใจถูกรุมเร้าชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
6 พ.ค. 2563สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคมสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
15 มี.ค. 25636 เคล็ดลับที่ทำให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุขกิตติมา สุริยกานต์
4 มี.ค. 2563เข็น ...ใจชุติมณฑน์​ ปัญญาคำ
8 พ.ย. 2562รู้เท่าทันอารมณ์ชุติมณฑน์ ปัญญาคำ
12 ก.ย. 2562เรื่องเล่าจากห้องตรวจ ตอนที่ 1 รองเท้าของหนูอาทิติยา แดงสมบูรณ์
21 ม.ค. 2562การสร้างวินัยเชิงบวกกิตติมา สุริยกานต์
3 ม.ค. 2562ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
22 ต.ค. 2561โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
20 ก.ย. 2561อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังกิตติมา สุริยกานต์
20 ส.ค. 2561การเยียวยาสภาพจิตใจผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะกิตติมา สุริยกานต์
15 ส.ค. 2561บัตรประจำตัวคนพิการและสิทธิประโยชน์สุฑาทิพย์ คำเที่ยง
16 ก.ค. 2561สร้างคุณค่าในตนเอง เสริมภูมิคุ้มกันในชีวิตสุฑาทิพย์ คำเที่ยง
19 มิ.ย. 2561ไม่มีที่พักเมื่อจะมาพบแพทย์กิตติมา สุริยกานต์
20 เม.ย. 2561ค่าเดินทางสำคัญอย่างไรกิตติมา สุริยกานต์
6 ก.ค. 2560มาผิดวันนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

การสร้างวินัยเชิงบวก

เล่าเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 62
โดยกิตติมา สุริยกานต์

“ลูกดื้อ” พูดอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง ทั้งดุ ทั้งด่า ทั้งตี ก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง เป็นคำกล่าวที่มักได้ยินผู้ปกครองพูดอยู่บ่อย ๆ การอบรมสั่งสอนเด็กในอดีต มักจะคาดหวังในพฤติกรรมของเด็กจะต้องทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่เสมอ เมื่อถูกต่อว่า ลงโทษเด็กจะทำตามซึ่งจะได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น ปัจจุบันมีการนำรูปแบบการอบรมสั่งสอนเด็กโดยใช้การสร้างวินัยเชิงบวกเข้ามาใช้ในการอบรมสั่งสอนเด็ก

การอบรมสั่งสอนเด็ก โดยการใช้วินัยเชิงบวก คือ การสอนและการฝึกฝนเด็กให้มีพฤติกรรมตามที่เราคาดหวังด้วยการสื่อสารเชิงบวก และฝึกให้เด็กใช้ทักษะสมองส่วนหน้าเชิง Exective fuction หรือ EF เป็นการฝึกให้เด็ก คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีการรักษาสัมพันธภาพระหว่างกัน มีการแสดงความรักความเอาใจใส่ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ไม่ใช้คำสั่งห้ามหรือดุด่า เมื่อไม่เป็นตามความคาดหวังของตน มีการให้รางวัลและคำชมเชย

เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกเพื่อส่งเสริมทักษะ EF โดยดร.ปิยวลี ธนเศรษฐกร (ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทักษะสมอง EFS)

  1. หลักการทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ชื่นชมอย่างเฉพาะเจาะจงเด็กแบบตัวต่อตัวในพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเช่น หนูเก่งมากเลยเก็บของเล่นก่อนแม่ทำกับข้าวเสร็จเสียอีก
  2. หลักการมองระดับสายตา คือ การทำให้เด็กรู้สึกว่าได้รับการใส่ใจ มีคุณค่าและเชื่อใจ จะทำให้ ef ทำงานได้ดีขึ้น
  3. หลักการให้ทางเลือกเชิงบวก 2 ทาง เพื่อฝึกให้เด็กคิดเป็น ฝึกตัดสินใจ มีความคิดยืดหยุ่น
  4. หลักการเบี่ยงเบนพฤติกรรม เช่น เด็กเคาะโต๊ะ ไม่สั่งห้ามให้หยุดทำแต่ให้ทำอย่างอื่นแทน
  5. หลักการให้ความสำคัญ ทำให้เด็กรู้สึกมีส่วนสำคัญในครอบครัว โดยมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้เด็ก เช่น การช่วยทำงานบ้าน เมื่อเด็กทำก็ชื่นชมตัวเด็ก
  6. หลักการกระซิบ ไม่ตะโกนใส่เด็กเพื่อให้ทำตามคำสั่ง หากเป็นเสียงกระซิบเด็กจะใส่ใจฟัง สนใจและยอมทำตามมากกว่า
  7. หลักการอะไรก่อนหลัง กำหนดเงื่อนไขที่น่าสนใจเพื่อลดการต่อต้าน เช่นทำการบ้านเสร็จแล้ว ไปเล่นได้
  8. หลักการตั้งเวลา ฝึกให้รู้จักการวางแผน
  9. หลักการส่งความรู้สึก เพื่อบอกความรู้สึกของเราทำให้เด็กเรียนรู้ว่าทุกการกระทำของเขาส่งผลต่อผู้อื่นเสมอ
  10. หลักการแสดงความเข้าใจ ทำให้เด็กรู้ตัวว่ากำลังมีอารมณ์อะไร รู้สึกอย่างไร รับรู้อารมณ์ตัวเอง รู้ว่าต้องจัดการอย่างไรกับอารมณ์ของตัวเอง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเทคนิคที่ผู้ปกครองสามารถปรับใช้กับบุตรของตนได้

  • อย่าใช้คำว่า “ทำไม” ถามเด็กถ้าไม่ต้องการคำตอบจริง ๆ เช่น ทำไมต้องทำแบบนี้ แบบนั้น เพราะการตั้งคำถามลักษณะนี้อาจทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นใจ กลัวที่จะตอบเพราะกลัวถูกตำหนิ
  • “สั่ง” เป็นสิ่งที่ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยง เช่น คำว่า ห้าม ไม่ อย่า หยุดหรือการขู่เพื่อให้ทำ เช่น ถ้ากินข้าวไม่เสร็จ ไม่ต้องเล่น ปล่อยอยู่คนเดียวเลย
  • ใช้การสอน เช่น ใช้คำว่าขอบคุณ ตามด้วยพฤติกรรมที่เราต้องการเช่น “ขอบใจที่หนูหิวข้าวแล้วบอกแม่”
  • ให้ทางเลือกลูกตัดสินใจ เช่น หนูจะทำการบ้านก่อนหรือหลังกินข้าว
  • บอกพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ก่อนกินข้าวควรล้างมือให้สะอาด
  • บอกความรู้สึกของเรา เพื่อให้ลูกมั่นใจและหยุดพฤติกรรมเรียกร้อง “ตอนนี้หนูกังวลว่าแม่จะไม่หายโกรธแต่เดี๋ยวแม่ก็หายโกรธ

การสร้างวินัยเชิงบวกอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีการสอนที่ดี และฝึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างสมัครใจ ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง เพราะเด็กที่ได้รับการปลูกฝังที่ดี อบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม จะช่วยบ่มเพาะให้เด็กเติบโตอย่างมีความสุขและเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศต่อไป