'.$description; ?>

Heading for Printing

ผลงานของศูนย์ฯ

ผลงานของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ผ่านมามีมากมาย พอยกตัวอย่างได้ดังนี้

  1. เป็นที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ไทยว่า ศูนย์ฯเป็นแหล่งรับส่งต่อผู้ป่วยที่ใหญ่ที่สุด มีผู้ป่วยส่งต่อมาจากสถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ องค์กรการกุศลต่างๆ เช่น องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน สื่อมวลชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสำนักพระราชวัง ซึ่งจะส่งต่อคนไข้์ที่แพทย์ตามเสด็จไปพบ เช่น ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่งต่างๆ และจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียตนาม, เขมร, ลาว ฯลฯ
  2. ดูแลรักษาผ่าตัดผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะชนิดรุนแรงไปแล้วมากกว่า 1,000 ราย ซึ่งไม่รวมผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อีกจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคลากรทางแพทย์จากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ
  3. เป็นแหล่งรักษาผู้ป่วยโรคงวงช้าง (frontoethmoidal encephalomeningocele) ที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก มีเทคนิคการผ่าตัดแก้ไขความพิการในโรคงวงช้างโดยวิธี "จุฬาเทคนิค" ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลมหิดล บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทยประจำปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันเป็นวิธีที่เป็นที่รู้จักดีทั่วโลก
  4. เป็นผู้นำในการนำเอาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางการแพทย์ในสาขานี้ มาใช้ในประเทศเป็นครั้งแรก เช่น อุปกรณ์เพิ่มขนาดกระดูกใบหน้า (distractor) การทดแทนกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะด้วยกระดูกเทียมที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย (customized implant) โดยเทคโนโลยีการสร้างต้นแบบทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว (rapid prototyping) วัสดุยึดเชื่อมกระดูกแบบละลายได้ (resorbable plates & screws) การใช้วัสดุยึดกระดูกชนิดละลายได้ (resorbable plate and screws) ซึ่งมีการใช้ครั้งแรกในประเทศไทยโดย นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
    การเพิ่มขนาดขากรรไกรล่างในผู้ป่วยโรคใบหน้าเล็กแต่กำเนิด
    ผู้ป่วยโรคใบหน้าเล็กแต่กำเนิด รักษาโดยใช้อุปกรณ์เพิ่มขนาดกระดูก
  5. นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ และนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ได้รับเกียรติเป็นกองบรรณาธิการวารสารการแพทย์ระดับนานาชาติหลายฉบับ
  6. ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯ มีบทบาทต่าง ๆ ในสมาคมในระดับนานาชาติหลายสมาคม เช่น เป็นสมาชิก นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการบริหารสมาคมระดับภูมิภาค คือ Asian-Pacific Craniofacial Association จนถึงปี พ.ศ. 2552 นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ เป็นกรรมการบริหารสมาคมระดับภูมิภาค คือ Asian-Pacific Craniofacial Association ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ เป็นกรรมการบริหาร (Council Member) ของสมาคมระดับนานาชาติ คือ International Society of Craniofacial Surgery (มิถุนายน 2544 - ปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งโดยศัลยแพทย์ผู้เป็นบิดาแห่งวงการ Craniofacial Surgery คือ Prof. Dr. Paul Tessier แห่งประเทศฝรั่งเศส (เป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่เป็นสมาชิกของสมาคมนี้/พ.ย. 2544
  7. นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์และนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ เป็นกรรมการผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย โดย นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯเป็นท่านแรก ส่วน นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ เป็นกรรมการบริหารตั้งแต่ชุดแรกจนถึงปัจจุบัน
  8. ในช่วงการประชุมด้านสาธารณสุขในระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Health Week) ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ​ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 3 หน่วยงานที่ได้จัดนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ของไทยให้กับเจ้าหน้าที่ระดับนโยบายดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  เป็นนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการเสนอการขับเคลื่อนด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในรูปแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG models) ที่ได้รับการนำเสนอเพื่อขับเคลื่อน APEC 2022 ให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล หลังการแพร่ระบาดของโควิดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ มุ่งหวังให้สร้างความสมดุลในทุกด้าน
สถิติจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด สถิติจำนวนผู้ป่วยนอก

ปัจจุบันศูนย์ฯ มีผู้ป่วยในความดูแลเป็นจำนวน 3,890 คน

ประเภทความผิดปกติผู้ป่วยในความดูแล
Cleft lip/palate770
Craniofacial microsomia350
Craniosynostosis - single235
FEEM232
Ear anomalies225
Facial injury172
Craniofacial cleft153
Craniosynostosis - multiple126
Other craniofacial113
Head and neck tumors104
Cosmetic concerns84
Other anomalies74
Venous malformation66
Pierre Robin sequence63
Mandibular prognathism61
Non-craniofacial56
Maxillary hypoplasia50
Frontonasal dysplasia41
Undetermined37
Treacher Collins32
Eyelid ptosis - congenital31
VPI31
NF1 - soft tissue tumor29
Eyelid/orbit anomalies22
Micrognathia19
Romberg disease19
TMJ ankylosis19
Congenital melanocytic nevus17
Facial palsy16
NF1 - orbital dysplasia15
Nasal deformities15
Goldenhar syndrome14
Hemifacial hypertrophy14
Congenital facial palsy14
Others13
Lymphatic malformation11
Fibrous dysplasia10
Combined vascular malformation8
Rhinencephalic dysplasia8
Arterial malformation5
Capillary malformation5
Velocardiofacial syndrome4
Scleroderma4
Facial palsy3
Charge syndrome2
Bell palsy2
Single-organ enlargement2
Pycnodysostosis2
Lip anomalies1
Tongue anomalies1
Craniopagus1